ในการดำเนินงานประจำวัน ข้อมูลการทำงานไหลเวียนอยู่ในบริบทต่างๆ เช่น ข้อความกลุ่ม กล่องจดหมาย เอกสารบนติงตง (DingTalk) ฯลฯ โดยองค์กรต้องการให้พนักงานสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลสารสนเทศสำคัญ เช่น ความก้าวหน้าของโครงการ หรือการจัดสรรงานได้ทันที ดังนั้นประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลจึงกลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการทำงานร่วมกัน: เมื่อประสิทธิภาพสูงขึ้น ต้นทุนในการสื่อสารจะลดลง เกิดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งน้อยลง และช่วยเร่งความเร็วในการเติบโตขององค์กร เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ (AI) เมื่อ AI ถูกนำเข้าไปสู่ขั้นตอนการทำงานร่วมกันที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารระหว่างทีม การจัดการเรื่องงาน และการแบ่งปันองค์ความรู้ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? ในเดือนกรกฎาคม 2023 แอป MyAlbum (MiaoYa Camera) กลายเป็นไวรัลในหลายแพลตฟอร์มโซเชียล ด้วยราคา 9.9 หยวน บวกกับการอัปโหลดรูปภาพตนเอง 20 ภาพ ผู้ใช้สามารถได้รับภาพถ่ายบุคคลคุณภาพสูงชุดหนึ่ง การสร้างภาพของ MyAlbum อาจยังไม่สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Midjourney แต่ในบริบทของการถ่ายภาพบุคคล แอปใช้ AI ปรับปรุงกระบวนการเดิม เช่น การแต่งหน้าทำผม การเลือกรูปและการปรับแต่งภาพ และใช้กลไกการเผยแพร่แบบ peer-to-peer จนทำให้ MyAlbum เป็น AI Application (AI App) แรกๆ ที่สามารถหลุดออกจากกรอบความคาดหมายไปสู่วงกว้าง MyAlbum ประสบความสำเร็จจนพิสูจน์แนวทางการใช้งาน AI ได้อย่างชัดเจน หากครึ่งเวลาแรกของ AI ถูกขับเคลื่อนด้วยพละกำลังประมวลผล ครึ่งเวลาหลังควรจะต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมบริบท (contextual innovation) หนังสือ The Elements of User Experience ได้เสนอแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า "การออกแบบโดยมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Design)" ซึ่งเป็นการแบ่งบริบทออกเป็น 3 ส่วน คือ "ตัวบทบาท" (what role) "ทำกิจกรรมอะไร" (what task) และ "เพื่อเป้าหมายใด" (what goal) ด้านบริบทการทำงานร่วมกันนั้น มีลักษณะเด่นเป็นผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่มีเป้าหมายหลากหลาย ด้วยความต้องการที่ต่างกันของพนักงานแต่ละตำแหน่งในการหมุนเวียนข้อมูล การทำงานร่วมกันจึงเต็มเปี่ยมด้วยโอกาสในการออกแบบนวัตกรรมด้วยการผสมผสานบริบทกับ AI
ในการทำงานประจำวัน ข้อมูลการทำงานไหลเวียนอยู่ในบริบทต่างๆ เช่น ข้อความกลุ่ม กล่องจดหมาย เอกสารบนติงตง (DingTalk) ฯลฯ โดยองค์กรต้องการให้พนักงานสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลสารสนเทศสำคัญ เช่น ความก้าวหน้าของโครงการ หรือการจัดสรรงานได้ทันที ดังนั้นประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลจึงกลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการทำงานร่วมกัน: เมื่อประสิทธิภาพสูงขึ้น ต้นทุนในการสื่อสารจะลดลง เกิดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งน้อยลง และช่วยเร่งความเร็วในการเติบโตขององค์กร
ในยุคของเทคโนโลยีอัจฉริยะ เมื่อ AI ถูกนำเข้าไปสู่ขั้นตอนการทำงานร่วมกันที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารระหว่างทีม การจัดการเรื่องงาน และการแบ่งปันองค์ความรู้ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?
การทดลองและพัฒนาด้วยแนวทาง "บริบท + AI"
$"ครึ่งเวลาแรกของ AI ถูกขับเคลื่อนด้วยการอัปเกรดการประมวลผล ครึ่งเวลาหลังจะต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมบริบท"
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 แอป MyAlbum กลายเป็นไวรัลในหลายแพลตฟอร์มโซเชียลอย่างรวดเร็ว ด้วยราคา 9.9 หยวน บวกกับการอัปโหลดภาพถ่ายตนเอง 20 ภาพ ผู้ใช้สามารถรับบริการภาพถ่ายบุคคลแบบคุณภาพสูงชุดหนึ่ง แม้ว่าคุณภาพและระดับความละเอียดของ MyAlbum จะยังไม่เทียบเท่ากับ Midjourney ได้ แต่ในบริบทของการถ่ายภาพบุคคล แอปได้ใช้เทคโนโลยี AI ในการปรับปรุงกระบวนการเช่น การแต่งหน้าจัดทรง และการเลือกรูปภาพที่จะนำมาปรับแต่ง ฯลฯ รวมทั้งปล่อยให้ผู้ใช้เผยแพร่เองจนเกิดการแชร์และกระจายเครือข่ายอย่างรวดเร็ว ทำให้ MyAlbum กลายเป็น AI Application (AI App) ตัวแรกที่สามารถหลุดออกจากกรอบความคาดหมาย
ความสำเร็จของแอป MyAlbum นี้ นับเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนถึงแนวทางการใช้งาน AI: หากครึ่งแรกของ AI ถูกขับเคลื่อนด้วยการอัปเกรดพลังการประมวลผล ครึ่งเวล่าหลังก็ควรขับเคลื่อนด้วยการนวัตกรรมโดยให้ความสำคัญกับบริบท
หนังสือ The Elements of User Experience ได้เสนอแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า "การออกแบบโดยมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Design)" ซึ่งเป็นการแบ่งบริบทออกเป็น 3 ส่วน คือ "ตัวบทบาท" (what role) "ทำกิจกรรมอะไร" (what task) และ "เพื่อเป้าหมายใด" (what goal) บริบทการทำงานร่วมกันนั้นเปี่ยมไปด้วยความหลากหลายของบทบาทและเป้าหมาย ด้วยเป้าหมายที่ต่างกันของพนักงานแต่ละตำแหน่งในการหมุนเวียนข้อมูล บริบทการทำงานร่วมกันจึงเปี่ยมด้วยโอกาสในการออกแบบนวัตกรรมด้วยการผสมผสาน "บริบท + AI"
ต่อไปนี้ เราจะขอแบ่งปันตัวอย่างการทดลองออกแบบ 3 แบบ เพื่อแสดงแนวทางการผสาน AI เข้ากับการหมุนเวียนข้อมูลในแต่ละขั้นตอน
01. โปสเตอร์อัจฉริยะสำหรับกำหนดการ
$"บริบทการประชาสัมพันธ์ + AI ทำให้การแบ่งปันข้อมูลน่าสนใจยิ่งขึ้น"
การวิเคราะห์ลักษณะของบริบท
เมื่อบริษัทจัดกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ทางผู้จัดมักสร้างโปสเตอร์กิจกรรม และติดรูปภาพผู้บรรยายเพื่อดึงดูดให้ผู้คนมาร่วมกิจกรรม
ระบบ Alibaba Cloud สามารถสร้างภาพหน้าสินค้าอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการแยกภาพสินค้าและนำคำบรรยายภาพสินค้ามาประมวลผลอย่างรวดเร็ว เพื่อทำภาพประชาสัมพันธ์ โดยเพียงเพิ่มภาพสินค้าและคำบรรยายเข้ากับพื้นหลังที่ดูดี ก็สามารถดึงดูดให้ลูกค้ามาร่วมจับจ่ายได้แล้ว
เมื่อนำภาพทั้ง 2 แบบนี้มาวิเคราะห์ เราก็พบว่าโครงสร้างภาพทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน คือเพื่อบริบทการประชาสัมพันธ์
การวิเคราะห์บริบท
จากเนื้อหาด้านบน เราได้สรุปแนวคิดที่สำคัญในหนังสือ The Elements of User Experience ซึ่งกล่าวถึงปัจจัย 3 ประการของบริบท ได้แก่ บทบาท (who) ภารกิจ (what to do) และเป้าหมาย (what for) เราแยกบริบทของการทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมออกเป็นองค์ประกอบดังกล่าว ได้บทบาทคือทีมงานจัดงานหรือผู้ออกแบบโปสเตอร์ และกิจกรรมตั้งแต่รวบรวมข้อมูลไปจนประชาสัมพันธ์ รวม 7 กิจกรรม และเป้าหมายคือการดึงดูดให้ผู้คนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
จากการสังเกตขั้นตอนดังกล่าว เห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆ เช่น การเขียนเนื้อความ การสร้าง QR Code การแต่งภาพ และการออกแบบเล้าต์ เป็นสิ่งที่สามารถใช้เทคโนโลยีปัจจุบัญร่วมกับ AI ในการดำเนินการได้ เราจึงใช้ AI ขจัดงานที่ซ้ำซ้อนและน่าเบื่อเหล่านี้ เพื่อให้ผู้คนประชาสัมพันธ์กิจกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น
การออกแบบแนวทางแก้ไข
เราแยกโครงสร้างของโปสเตอร์ออกเป็นส่วนย่อย: "ข้อมูลกิจกรรม" ใช้ความสามารถของ AI ในการช่วยเขียนเนื้อความประชาสัมพันธ์ "พื้นหลัง" สร้างขึ้นด้วย AI และ "ภาพถ่ายผู้บรรยาย" ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในการแยกภาพ รวมทั้งเปลี่ยน "ลิงค์กิจกรรม" เป็น QR Code เพื่อให้ผู้ชมสามารถแสกนเพื่อร่วมการลงทะเบียน
หลังจากสามารถขจัดงานซ้ำซากดังกล่าวแล้ว แนวทางการสร้างโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์แบบอัจฉริยะนี้ ก็เริ่มเห็นภาพของมันอย่างชัดเจน แล้วในขั้นต่อไป เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ไอเดียนี้เปลี่ยนไปสู่ฟีเจอร์ที่มีคุณค่าแก่ผู้ใช้?
ค้นหาเส้นทางที่ผู้ใช้คิดถึงก่อน
ขั้นแรกคือหาทางเข้าที่เหมาะสม สำหรับผู้คนที่ต้องการเชิญชวนให้ผู้อื่นมาร่วมกิจกรรม ขั้นแรกต้องคือแบ่งปันกำหนดการ
ค้นหารูปแบบดีที่สุดสำหรับการหมุนเวียนข้อมูล
บนแพลตฟอร์มติงตง สถานที่ที่ข้อมูลจะสามารถถ่ายทอดไปได้กว้างที่สุดคือกลุ่มสนทนา ด้วยการส่งโปสเตอร์เป็นข้อความรูปแบบการ์ด (card message) ในกลุ่มสนทนาที่เป็นกลุ่มข้อมูลหลัก ทำให้สมาชิกที่สนใจสามารถคลิกปุ่มปฏิบัติการที่ด้านล่างการ์ดเพื่อเข้าร่วมกำหนดการหรือกิจกรรมได้ทันที
ทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นรับรู้ถึงคุณค่าของฟีเจอร์
เพิ่มส่วนท้ายเล็กน้อยบนการ์ด เพื่อแนะนำผู้ใช้ที่อยากรู้เพิ่มเติม และอธิบายจุดเด่นของฟีเจอร์ ทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านโปสเตอร์สามารถจำได้ว่า ครั้งหน้าที่ต้องทำโปสเตอร์ อาจต้องใช้ฟีเจอร์นี้
การดำเนินการนวัตกรรม
ด้วยวิธีการดังกล่าว เราจึงพัฒนาความสามารถในการสร้างโปสเตอร์อัจฉริยะบนติงตงสำเร็จ โดยสามารถเปลี่ยนข้อมูลกำหนดการเป็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อแชร์ในกลุ่มสนทนาได้ด้วยคลิกเดียว ซึ่งมีสองรูปแบบ คือโปสเตอร์ข้อความ (text poster) และโปสเตอร์รูปถ่าย (image poster)
หลังเปิดใช้งานฟีเจอร์ใหม่นี้ เราได้รับคำให้การที่ดีจากลูกค้ารายใหญ่มากมาย สามารถลดภาระในการโปรโมตกิจกรรม เช่น การฝึกอบรมองค์กรหรือการบรรยายความรู้ ฯลฯ และช่วยลดงานที่ซ้ำซ้อนน่าเบื่อของผู้ที่ต้องประชาสัมพันธ์งาน
02. การสร้างกำหนดการด้วยภาษาธรรมชาติ
$"บริบทการประชุม + AI ทำให้การแบ่งปันข้อมูลสะดวกยิ่งขึ้น"$
การพบปัญหา
ในชีวิตการทำงานประจำวัน ถ้าจำเป็นต้องนัดหมายเพื่อนร่วมงานเพื่อพูดคุยในการประชุม เรามักจะใช้งานร่วมกับปฏิทินติงตง เพื่อสร้างกำหนดการล่วงหน้าส่งคำเชิญเข้าร่วมพูดคุย แต่แบบฟอร์มการสร้างกำหนดการรับคำวิจารณ์ต่างๆ ว่า "นัดหมายกำหนดการซับซ้อนเกินไป"
แบบฟอร์มสร้างกำหนดการปัจจุบันมีทั้งหมด 13 ช่องที่จำเป็นต้องกรอก มองดูก็รู้สึกว่าดูเครียดพอสมควร
ตามแนวทางการปรับปรุงในอดีต เราควรที่จะจัดเรียงลำดับแบบฟอร์ม จัดกลุ่มช่องต่างๆ และพยายามใช้การปรับโครงสร้างข้อมูลให้เป็นระเบียบเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่เนื่องจากในปัจจุบันมี AI แล้ว เราจะสามารถคิดแนวทางอื่นในการปรับปรุงได้หรือไม่?
การวิเคราะห์บริบท
เช่น เมื่อเรานัดหมายการประชุมประเมินผลงานการออกแบบ โดยใช้การวิเคราะห์บริบทจากมุมมองของ "บทบาท (ใคร) กิจกรรม (ทำอะไร) เป้าหมาย (เพื่ออะไร)" บทบาทคือผู้จัดประชุม ดีไซเนอร์: ต้องกำหนดหัวข้อประชุมก่อน จากนั้นตรวจสอบตารางงานว่างของผู้ร่วมประชุมและห้องประชุมต่างๆ เพื่อกำหนดเวลานัดหมาย จากนั้นจึงกรอกแบบฟอร์มยาวเหยียดเพื่อส่งคำเชิญให้กับทุกคน เป้าหมายสุดท้ายคือเพื่อหาเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบและหารือเกี่ยวกับแนวทางการออกแบบ
ดังนั้นจากข้อมูลที่เรามี เราพบว่าเพียงแค่กรอกข้อมูล 4 ช่อง "หัวข้อ เวลา ผู้ร่วมประชุม ห้องประชุม" ก็เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการสำหรับการสร้างกำหนดการถึง 84% จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ พบว่าขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุดคือการเลือกเวลาที่เหมาะสมโดยดูจากตารางงานว่างของผู้เข้าร่วมประชุมและห้องประชุม
ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดติดกับขั้นตอนการทำงานแบบเดิม ด้วยการใช้แรงเสริมจาก AI เราจึงลองหาแนวทางที่ง่ายขึ้น ทำให้ผู้จัดประชุมสามารถหาเวลาและที่สถานที่เหมาะสมเพื่อแจ้งชวนทุกคนมาหารือเรื่องต่างๆ ได้ทันที พวกเขาถึงขั้นว่าการใช้ฟอร์มที่มี 13 ช่องนั้นยาก แล้วถ้าตอนนี้เรามีเพียง 1 ช่องในการสร้างกำหนดการจะง่ายขึ้นใช่ไหม?
การดำเนินการนวัตกรรม
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเสนอแนวทางในการสร้างกำหนดการอย่างอัจฉริยะผ่านภาษาธรรมชาติ ให้ผู้ใช้สามารถนัดหมายกำหนดการได้ภายในหนึ่งประโยค
เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูล "เวลา หัวข้อ และชื่อผู้ร่วมประชุม" ระบบจะทำการวิเคราะห์และเติมข้อมูลลงในแบบฟอร์มโดยอัตโนมัติ จากนั้นจะประมวลผลข้อมูลตารางเวลาที่เหลือว่างของผู้เข้าร่วมประชุมและห้องประชุม เพื่อแนะนำช่วงเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้จัดประชุม เพียงแค่คลิกปุ่มสร้าง ก็สามารถนัดหมายกำหนดการได้ภายในไม่กี่วินาที
หลังจากฟีเจอร์นี้เปิดใช้งาน ก็ได้รับความชื่นชอบจากองค์กรฝึกอบรมมากเป็นพิเศษ พวกเขาสามารถคัดลอกข้อมูลเช่น ชื่อวิชา ช่วงเวลาเรียน และข้อมูลอาจารย์ จากตารางเรียนไปยังช่องอินพุตของฟีเจอร์สร้างอัตโนมัติได้ จากนั้นเลือกห้องว่างที่เหมาะสมเพื่อจัดเรียน ทำให้จัดตารางเรียนของอย่างน้อย 10 วิชาได้ภายในหนึ่งนาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผยแพร่ข้อมูลด้านชั่วโมงเรียนให้แก่ครูอาจารย์เป็นอย่างมาก
03. การแนะนำฟีเจอร์ผ่านการดูตัวอย่างไฟล์
$"บริบทการดูตัวอย่าง + AI ทำให้การจัดการข้อมูลแม่นยำขึ้น"$
การวิเคราะห์บริบท
ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงเวลาที่นักศึกษาจำนวนมากกำลังหางานฝึกงานต่างๆ อยู่ วันหนึ่ง หลานสาวของฉันได้ส่งไฟล์เรซูเม่ของเธอผ่านติงตงมาให้ แล้วให้ฉันช่วยตรวจสอบและให้คำแนะนำในการปรับปรุงเรซูเม่ของเธอหน่อย
ในฐานะผู้ที่ทำงานด้านฟีเจอร์ AI มาตลอดปีที่ผ่านมา ความคิดแรกที่ผุดขึ้นคือ "จะใช้ AI ช่วยตรวจสอบและปรับปรุงเรซูเม่ให้เธอก็ได้" ฉันติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Qwen เพื่อขอคำสั่ง (Prompt) สำหรับการตรวจสอบเรซูเม่ จากนั้นใช้ AI ตั้งข้อความคำแนะนำคุณภาพดีส่งไปให้เธอด้วย พร้อมแนะนำแนวทางในการใช้ AI แต่กลับได้รับการตอบกลับ 3 ข้อจากเธอว่า: "ไม่คิดเลยว่าเรซูเม่จะใช้ AI ได้ เขาใช้ไม่เป็นเลย ยุ่งยากเกินไป"
แล้วถ้าอย่างนั้น ฉันจะทดลองสอนวิธีการนี้ให้กับผู้ใช้เช่นเธอก็ได้
การวิเคราะห์บริบท
ให้เราลองวิเคราะห์บริบทอีกครั้ง โดยใช้การปรับปรุงเรซูเม่ของนักศึกษาผ่าน AI เป็นตัวอย่าง ดังรูปด้านล่าง แม้ขั้นตอนการใช้ AI ในการแก้ไขเรซูเม่จะไม่ซับซ้อน และผลลัพธ์ที่ได้หลังปรับแต่งสัก 2-3 รอบก็ให้คุณภาพสูงด้วย
แต่ 3 คำถามนั้นทำให้ฉันตระหนักถึงปัญหาหลัก: ผู้ใช้ไม่คิดถึงว่า AI จะสามารถใช้ได้จริงๆ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ในที่ทำงานก็เป็นแบบนี้เช่นกัน พวกเขาไม่ได้เหมือนเราที่มีโอกาสทำงานกับ AI ทุกวัน พวกเขาทำงานตามสายงานเดิมที่คุ้นชิน โดยไม่รู้ว่าจะสามารถแก้ปัญหาที่พบเจอได้ด้วย AI ได้อย่างไร
แล้วเราจะใช้วิธีใดส่งเสริมให้ผู้ใช้รับรู้เป้าหมายและจัดการงานให้ดีขึ้น ให้พวกเขาได้รู้สึกถึงคุณค่าของ AI ล่ะ?
การวิเคราะห์บริบท
เมื่อเราเปิดไฟล์เรซูเม่ขึ้นมาดูในแชทบนติงตง หน้าจอแสดงผลลักษณะไฟล์ดังกล่าวจะกลายเป็นพื้นที่ที่สามารถนำเป้าหมายมาเน้นย้ำได้อย่างเหมาะสม เมื่อระบบวิเคราะห์ว่าไฟล์นี้เป็นไฟล์เรซูเม่ ฟีเจอร์เช่น "การตรวจสอบเรซูเม่" และ "การสัมภาษณ์จำลอง" ที่ถูกสร้างจาก AI ก็จะถูกส่งต่อไปถึงผู้ใช้อย่างเหมาะสม เมื่อผู้ใช้เห็นและคลิกฟีเจอร์ "ตรวจสอบเรซูเม่" AI ก็จะสามารถผลิตคำแนะนำปรับปรุงทันที AI สามารถช่วยผู้ใช้ขจัดปัญหาในบริบทดังกล่าวให้ได้เลย เปลี่ยนจากการที่ผู้ใช้ค้นหา AI เป็น AI ที่สามารถสังเกตและค้นพบผู้ใช้แทน
แนวคิดดังกล่าวสามารถขยายไปสู่ไฟล์อื่นๆ ของติงตงได้ ไม่เพียงแค่แนะนำความสามารถของ AI ที่เราพัฒนาไว้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณสมบัติที่มีมูลค่าลึกซึ้งที่มีอยู่ในระบบติงตง เช่น การประมวลผลใบแจ้งหนี้ ด้วยแนวคิดเช่นนี้ สามารถส่งเสริมให้พนักงานบัญชีตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ได้ หรือการร้องขออนุมัติการคืนเงินจากการเดินทางธุรกิจโดยคลิกเดียว
แนะนำฟีเจอร์เฉพาะบริบทตามประเภทของไฟล์ บทบาทผู้ใช้ และสิทธิ์การเข้าถึง เพื่อให้กระบวนการจัดการและแก้ไขไฟล์บนติงตงเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
จากกรณีตัวอย่างทั้งสามข้างต้น เรานำเสนอการใช้ AI ในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มผู้ใช้อื่นๆ กันในบริบทงานจริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการหมุนเวียนข้อมูลบนติงตงให้ดีขึ้นหรือสร้างคุณค่าเพิ่มเติม
บทสรุป
$"เทคโนโลยีต้องอยู่เพื่อบริการมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์ต้องตามเทคโนโลยี"
ภายในองค์กรติงตงเองนั้นมีแนวคิดที่ว่า "ผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่อยู่ในติงตงนั้น ควรต้องถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ด้วย AI อีกครั้ง" จากมุมมองของนักออกแบบติงตง ทีมเราเชื่อว่า ทุกผลิตภัณฑ์คู่ควรกับการถูกคิดและพัฒนาใหม่ในบริบทของการผสมผสานกับ AI
หลักการผสมผสานระหว่างบริบทและการใช้งาน AI มีหลักการเด่นที่ว่า จัดหาความสามารถของ AI เพื่อดำเนินงาน ตัวหนึ่งมี AI ทำได้ดีขึ้น เเละอีกงาน AI ทำได้เร็วขึ้น เป็นเพราะความสามารถของ AI ที่ยอดเยี่ยม ทำให้มุมมองของทุกคนเอนเอียงไปสู่คำถามเช่น "ด้วย AI จะสามารถลดขั้นตอนใดได้?" หรือ "แทนที่ขั้นตอนใดได้?" เมื่อเข้าไปลึกในขั้นตอนการดำเนินงาน เราก็มักจะพยายามใช้ AI ผสานเข้ากับความสามารถเฉพาะอย่าง เพื่อเสนอฟีเจอร์ที่ฉลาดและหลากหลายให้ผู้ใช้สามารถดำเนินงานได้ แต่ด้วยมุมมองนี้ก็อาจลืมมอง "บทบาท" (who) และ "เป้าหมาย" (what for) ของบริบท
คือ AI ที่ทำให้โปสเตอร์ที่แชร์สามารถดึงดูดผู้คนมากขึ้นเข้าร่วมกิจกรรม ความสะดวกในการจัดประชุมไม่ได้จากการใช้ AI แต่คือ AI เป็นตัวช่วยให้นักจัดประชุมรู้สึกพอใจ สุดท้าย ผู้สมัครงานมีความมั่นใจมากขึ้นไม่ใช่เพราะคำแนะนำของ AI แต่เพราะ AI ทำให้คนที่ไม่มีประสบ